กรมทางหลวง
DEPARTMENT OF HIGHWAYS
ระบบทางหลวงที่สะดวกปลอดภัยเชื่อมโยงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

โครงการก่อสร้างทางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ลงวันที่ 09/04/2561

"......อนุสาวรีย์อย่าเพิ่งสร้าง สร้างถนนดีกว่า สร้างถนนเรียกว่า วงแหวน เพราะมันเป็นความฝัน เป็นความฝันมาตั้งนานแล้ว...."

พระราชดำรัสเนื่องในมหามงคลสมัย พระราชพิธีรัชดาภิเษก ครองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี

 
 ถนนวงแหวนรอบนอก กทม. ด้านตะวันตก  
 

สืบเนื่องจากแนวพระราชดำริที่ว่า การจะให้ประชาชนพึ่งตนเองต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทาง เป็นปัจจัยรองรับ ด้วยแนวพระราชดำรินี้ ทำให้กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงได้มีโอกาสรับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิดหลายครั้งหลายครา พระเมตตาธิคุณของ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว จึงเป็นตำนานเล่าขานในหมู่ข้าราชการกรมทางหลวงด้วยความปลื้มปีติ

ในช่วงทศวรรษแรก ๆ แห่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางหลวงเชื่อมกรุงเทพฯ ไปยังหัวเมืองน้อยใหญ่ ยังมีไม่มากมายและกว้างขวางสะดวกสบายดังเช่นในปัจจุบัน ทางหลวงสายหลักคงมีเพียงถนนพหลโยธินซึ่งเชื่อมกรุงเทพฯ สู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนเพชรเกษมจากกรุงเทพฯ สู่ภาคใต้และถนนสุขุมวิทที่มุ่งสู่ภาคตะวันออก และทางหลวงสายแรกของ ไทยที่ก่อสร้างอย่างถูกต้องตามแบบมาตรฐานสากลในทุกขั้นตอน เป็นครั้งแรกได้เกิดขึ้นในตอนต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

 
ถนนรัชดาภิเษก

            ถนนรัชดาภิเษกและถนนอุตราภิมุข ถนนรัชดาภิเษกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ เกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่จะต้องประสบปัญหาการจราจร โดยใน พ.ศ. 2513 พระองค์ท่านได้มีรับสั่งถาม พันโท ประถม บุรณศิริ (ผู้อำนวยการกองวางแผน กรมทางหลวง ในสมัยนั้น) ว่าจะจัดระบบทางหลวงอย่างไร จึงจะสามารถรับปัญหาการจราจรของกรุงเทพฯ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ พันโท ประถมได้กราบบังคมทูล ว่าการแก้ไขปัญหาสมควรที่จะใช้ระบบ Ring & Radial คือต้องมีวงแหวนรอบกรุงเทพฯ และมีถนนออกจากศูนย์กลางไปรอบตัวตัดกับวงแหวนเหล่านั้น โดยกำหนดให้เป็นทางหลวงที่ควบคุมการเข้า-ออก (Access Controlled) และตรงจุดตัดที่สำคัญจะทำเป็นทางแยกต่างระดับทุกแห่ง ซึ่งพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริเห็นชอบด้วย และยังทรงพระราชทานข้อเสนอแนะเพิ่มเติมบางประการ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีรับสั่งเรื่องถนนวงแหวนรอบกรุงเทพฯ ซึ่งนายเฉลียว วัชรพุกก์ ไปชี้แจงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีก็ได้ให้ความเห็นชอบตามหลักการ และมอบให้กรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการกับถนนวงแหวน ซึ่งมีอยู่ 3 สาย ล้อมรอบ บริเวณที่ดินทั้ง 2 ฝั่งน้ำเจ้าพระยา โดยมีสะพานเชื่อมสองฝั่งแม่น้ำ ถนนวงแหวนรอบในส่วนมากมีเส้นทางเดิมอยู่แล้ว มีทางเลียบสองฝั่งแม่น้ำ ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ กับสะพานที่ปลายถนนสาทร ถนนวงแหวนรอบกลางมีเส้นทางเดิมอยู่ 6-8 กิโลเมตร มีทางเชื่อม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สะพานพระราม 6 กับสะพานกรุงเทพฯ และจะต้องสร้างทางเส้นใหม่ขึ้นเป็นทางยาวไม่น้อยกว่า 36 กิโลเมตรจึงจะทำให้ถนนนี้ครบวง จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรได้มาก เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่สัญจรเข้า-ออกระหว่างใจกลางเมืองกับชุมชนส่วนนอก ตลอดจนถึงผู้ที่มาจาก ต่างจังหวัดทั้งทางทิศเหนือ ตะวันออก ตะวันตก และทิศใต้ ให้สามารถเดินทางผ่านกรุงเทพฯ ออกไปได้โดยไม่ต้องเข้าสู่ศูนย์กลางของเมืองที่มีการ จราจรคับคั่งเป็นประจำ

ทางยกระดับถนนพหลโยธิน ช่วงดินแดง-ดอนเมือง-หลักสี่-อนุสรณ์สถานรังสิต


            ส่วนถนนวงแหวนรอบนอกนั้น มีเส้นทางเดิมอยู่เพียงส่วนน้อย จะต้องสร้างสะพานเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา 2 แห่งรวมทั้งถนนใหม่ ซึ่งมีความยาวไม่น้อยกว่า 75 กิโลเมตร ถนนสายนี้เตรียมไว้สำหรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต โดยจะทำหน้าที่เป็นสายอ้อมเมือง งานของกรมทางหลวงคือถนนวงแหวนรอบนอก ถนนวงแหวนรอบใน เป็นงานของกรุงเทพมหานคร ส่วนวงรอบกลางแม้จะอยู่ในเขตของกรุงเทพมหานคร แต่คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบให้กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง พร้อมกันนี้ 
คณะรัฐมนตรีได้เร่งดำเนินการเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็น พระบรมราชานุสรณ์ในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก โดยกราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อถนนวงแหวนสายนี้ว่า "ถนนรัชดาภิเษก"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตและได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยว่า ถนนรัชดาภิเษกจะใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ถ้าจะมีเส้นทางที่เชื่อมถนนจากเมืองทางตะวันออกกับถนนจากทางใต้ ให้ติดต่อกันได้โดยผ่าน ถนนวงแหวนช่วงด้านใต้ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2515 อันเป็นวันที่มีพระราชพิธีรัชดาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ถนนรัชดาภิเษก ตามคำกราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จของจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ขณะเดียวกันทางหลวงวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ อันประกอบด้วยวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ตะวันออก และด้านใต้ จึงได้มีการก่อสร้างขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเส้นทางสายนี้จะกระจายการจราจรและการขนส่งสินค้าต่าง ๆ ออกจากใจกลางกรุงเทพฯ ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ได้สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัดยิ่งขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และเปิดให้การจราจรผ่านแล้วในช่วงวงแหวน รอบนอกด้านตะวันตกและด้านตะวันออก ยังคงเหลือทางหลวงวงแหวนด้านใต้ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

กระทรวงคมนาคมได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญชื่อพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เป็นชื่อทางหลวงวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านใต้ว่า "ถนนกาญจนาภิเษก" และได้เปลี่ยนหมายเลขทางสายดังกล่าวจากหมายเลข 37 เป็นหมายเลข 9 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และจัดเข้าเป็นระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง

ต่อมา กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบได้ก่อสร้างทางยกระดับบนถนนพหลโยธินช่วงดินแดง-ดอนเมือง-หลักสี่- อนุสรณ์สถานรังสิต เพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการจราจรมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อทางยกระดับนี้รวมถึงช่วงที่จะมีการก่อสร้างเชื่อมต่อในอนาคต เป็นชื่อเดียวกันตลอดสายว่า " ถนนอุตราภิมุข" อันมีความหมายว่า "บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ"

ทางสายอำเภอรามัน-บ้านดาโต๊ะหะลอ-อำเภอรือเสาะ

ในช่วง พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎร ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงทางภาคใต้ ซึ่งนายเฉลียว วัชรพุกก์ อธิบดีกรมทางหลวงในสมัยนั้น กล่าวไว้ในหนังสือ "คือเส้นทางสร้างชาติไทย 84 ปี กรมทางหลวง" ว่า...พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริแนะนำแนวทางสายหนึ่งที่ควรจะก่อสร้าง และมีบางตอนเป็นที่ลุ่มแต่ถมดินคันทางได้ นั่นคือ ทางสายอำเภอรามัน- บ้านดาโต๊ะหะลอ-อำเภอรือเสาะ และพระองค์ทรงรอบรู้ภูมิประเทศบริเวณนั้นเป็นอย่างดี ซึ่งนายเฉลียวได้กราบบังคมทูลว่า สภาพทางยังเป็นทาง ก่อสร้างอยู่ และได้จัดให้เข้าอยู่ในโครงการเงินกู้ธนาคารโลก ขณะนี้ได้ใส่ลูกรังไว้แล้ว รถยนต์วิ่งผ่านได้ตลอดปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่ง ว่า "เห็นมีแต่หลานรังเท่านั้น" ครั้งนั้นนายเฉลียวกล่าวว่ารู้สึกงงมาก นึกไม่ออกว่าคำว่าหลานรังคืออะไร แต่ต่อมาก็นึกได้ว่า แม่รัง หมายถึงลูกรัง ก้อนใหญ่ และลูกรัง คือ ลูกรังขนาดเล็กขนาดต่าง ๆ คละกัน ดังนั้นคำว่า หลานรัง คงหมายความถึงลูกรังที่มีขนาดละเอียดมากนั่นเอง และทางคงจะ ลื่นมากหรือติดหล่มเวลาฝนตกหนัก ต่อมานายเฉลียวได้กราบบังคมทูลว่า ได้เลือกลูกรังที่ดีไปใส่เพิ่มเติมโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ทางลื่น แต่จะไม่ลงทุน ทำดีมากนัก เพราะมีโครงการจะสร้างเป็นถนนลาดยางอยู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งกับคุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมสมัยนั้นว่า "อธิบดีเขายิ้มสวยนะ" เป็นพระอารมณ์ขันอย่างหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์ เพื่อให้บรรยากาศการเข้าเฝ้าฯ ไม่เคร่งเครียดหรือมีความวิตกกังวลมากนัก

ทางสายปราจีนบุรี-เขาใหญ่

ทางสายปราจีนบุรี-เขาใหญ่

ประมาณ พ.ศ. 2519 ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบบริเวณชายแดนด้านติดต่อเขมร มีการปะทะและแทรกซึมเข้ามาปลุกระดมประชาชน และผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ภายในประเทศทางด้านตะวันออกเริ่มเข้ามามีบทบาทและแผ่ขยายอิทธิพลถึงเขตอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ตลอดจน มีแนวโน้มที่จะรุกคืบหน้าเข้าไปยังจังหวัดนครนายกและจังหวัดสระบุรีต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้นายเฉลียว วัชรพุกก์ อธิบดี กรมทางหลวง รวมทั้งอธิบดีกรมป่าไม้และอธิบดีกรมชลประทาน เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับกับพื้นห้อง มีแผนที่รูปถ่ายทางอากาศแผ่นใหญ่วางอยู่ พระองค์รับสั่งถึงความจำเป็น ที่จะต้องมีเส้นทางให้รถยนต์ทหารผ่านได้ระหว่างปราจีนบุรี-เขาใหญ่ โดยให้เชื่อมต่อกับทางสายปากช่อง-เขาใหญ่ เส้นทางดังกล่าวจะต้องผ่านใกล้ น้ำตกเหวนรก รับสั่งให้ศึกษาพิจารณาว่าระดับทางตอนใกล้เหวนรกนั้นควรใช้ระดับใด เพราะในอนาคต อาจมีการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำสำหรับ มาตรฐานทางสายนี้ควรสร้างให้รถยนต์บรรทุกของทหารผ่านได้โดยปลอดภัย และไม่ควรยินยอมให้รถบรรทุกสินค้าใช้เส้นทางสายนี้ เพราะจะรบกวนสัตว์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติ ต่อมาไม่นาน มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์การระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองอุทยานและสัตว์ ป่าได้เข้าพบนายเฉลียว วัชรพุกก์ และให้ความเห็นว่าไม่ควรสร้าง แต่นายเฉลียวได้อธิบายเหตุผลต่าง ๆ รวมทั้งความจำเป็นต้องทำเพราะเป็นเรื่อง ความมั่นคงของชาติ และกรมทางหลวงใช้เวลาศึกษาแนวทางที่เหมาะสมและสำรวจออกแบบอยู่ปีเศษ จึงเริ่มงานก่อสร้างใน พ.ศ. 2523 แล้วเสร็จ ประมาณ พ.ศ. 2525

ต้น พ.ศ. 2527 ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเฉลียว วัชรพุกก์ เข้าเฝ้าฯ และมีรับสั่งถึงทางสายนี้ว่า กรมทางหลวงสร้างทางสายนี้ใหญ่โตไปหน่อย เขตทางตอนใดที่ยังโล่งอยู่ควรทำให้เป็นพื้นที่สีเขียว เช่น ปลูกต้นไม้เพิ่ม เติม และควรจำกัดความเร็วของรถเพื่อรักษาชีวิตของสัตว์ป่า รถยนต์มักวิ่งเร็ว รถจักรยานยนต์ก็มีเสียงดังรบกวนสัตว์ป่ามาก นายเฉลียว ซึ่งขณะนั้น ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กราบบังคมทูลว่า การที่ต้องสร้างถนนแบบดังกล่าวเพื่อความปลอดภัย และก็ได้พยายาม รักษาต้นไม้เดิมเป็นส่วนมาก และกรมทางหลวงได้ปักป้ายจำกัดความเร็วและป้ายเตือนเกี่ยวกับทางเดินผ่านของสัตว์ป่าไว้ด้วยแล้ว ซึ่งการตั้งด่าน ตรวจยวดยานที่จะเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติมีความจำเป็นมาก จะต้องแนะนำและกวดขันการปฏิบัติของผู้ใช้ยวดยาน

ทางสายอำเภอระแงะ-บ้านดุซงญอ-นิคมพัฒนาภาคใต้

ทางสายบ้านสามแยก-อำเภอสุไหงปาดี ทางสาย บ้านซากอ-นิคมพัฒนาภาคใต้

เมื่อ พ.ศ. 2521 นายเฉลียว วัชรพุกก์ พร้อมด้วยข้าราชการกรมทางหลวง ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักทักษิณ ราชนิเวศน์ พระองค์ท่านทรงใช้พระหัตถ์จับข้อมือนายเฉลียวและตรัสว่า มาดูแผนที่กันหน่อย และทรงหยิบแผนที่รูปถ่ายทางอากาศขนาดแผ่นกระดาษ ฟุลสแก๊ปขึ้นมา จากนั้นทรงชี้แนวทาง 3 สายที่ทรงขีดเส้นดินสอไว้เป็นเส้นหนัก คือทางสายอำเภอระแงะ-บ้านดุซงญอ-นิคมพัฒนาภาคใต้ ทางสาย บ้านสามแยก-อำเภอสุไหงปาดี และทางสายบ้านซากอ-นิคมพัฒนาภาคใต้ รับสั่งว่าทาง 3 สายนี้สมควรจะต้องพัฒนาให้ไปมาได้สะดวก ให้กรม ทางหลวงพิจารณาด้วย นายเฉลียวกราบบังคมทูลว่าได้เดินทางไปตรวจสภาพทางสายนี้มาแล้ว และจะได้ดำเนินการตามพระราชประสงค์ต่อไป ต่อมากรมทางหลวงก็รับมอบทาง 2 สายจากจังหวัดนราธิวาส และเริ่มดำเนินการใน พ.ศ. 2522 ส่วนทางสายบ้านซากอ-นิคมพัฒนาภาคใต้ พิจารณาแล้วว่าสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาค่อนข้างชันและต้องใช้งบประมาณมาก ควรใช้เส้นทางที่มีอยู่แล้ว ติดต่อกันได้ไปก่อน ทางข้ามภูเขาระหว่างบ้านเปาสามขา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ไปยังอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งเมื่อต้น พ.ศ. 2521 กับนายเฉลียว วัชรพุกก์ อธิบดีกรมทางหลวงสมัยนั้น ครั้งเมื่อเสด็จฯ แปรพระราช ฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ว่า เส้นทางข้ามภูเขาระหว่างบ้านเปาสามขา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ไปยังอำเภอ แม่ทา จังหวัดลำพูน ระยะทาง 10 กิโลเมตรเศษ เป็นทางลำลองอยู่นานแล้ว ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ถ้าได้ปรับปรุงให้ใช้ได้จะช่วยราษฎรทั้ง 2 ฝั่งของภูเขาให้สามารถไปมาหาสู่กันได้สะดวก ขอให้พิจารณาดูว่าจะทำได้หรือไม่ นายเฉลียวได้มอบหมายให้นายช่างแขวงการทางลำพูนไปตรวจสอบแล้วรายงานให้ทราบ ต่อมาเมื่อ 6 มีนาคม 2521 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ถามนายเฉลียว ว่า "ทางข้ามภูเขาที่อำเภอสันกำแพงที่เคยบอกไว้ เสร็จหรือยัง" เมื่อทรงได้รับคำกราบบังคมทูลว่าจะทำให้เสร็จใน ฤดูแล้งนี้ ก็ได้มีพระราชดำรัสว่า "แล้งนี้นะ ไม่ใช่แล้งปีหน้า และอาจจะขี่มอเตอร์ไซค์ไปเองเร็ว ๆ นี้" ในคืนนั้น อธิบดีกรมทางหลวงได้โทรศัพท์ ทางไกลจากพิษณุโลก สั่งการให้นายช่างแขวงการทางลำพูนรีบส่งรถแทรกเตอร์ไปซ่อมทางสายนี้ด่วนที่สุด หลังจากนั้นอีก 4 วัน ขณะที่นายเฉลียว และคณะได้เดินทางมาตรวจงานทางสายนี้ ได้พบตำรวจที่เฝ้ารายทาง จึงทราบว่ามีขบวนเสด็จฯ ซึ่งได้เดินทางข้ามภูเขาไปแล้ว แต่ยังไม่กลับมา

             คณะของนายเฉลียวได้หยุดรอที่ยอดเนินเขาแห่งหนึ่งเพื่อตรวจสอบเส้นทางกับแผนที่ระวางภาพถ่ายทางอากาศ และได้รับทราบทางวิทยุตำรวจที่นำ เสด็จฯ ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกำลังเสด็จฯ กลับทางเส้นเดิม ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขับรถยนต์พระที่นั่งขับเคลื่อน 4 ล้อ เสด็จฯ ผ่านมาถึงจุดดังกล่าว ทรงหยุดรถยนต์พระที่นั่งแล้วเสด็จฯ ลงมา มีพระราชปฏิสันถารกับคณะเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงอยู่ประมาณ 30 นาที และก่อนที่จะเสด็จฯ กลับได้มีรับสั่งว่า "...ทางพอใช้ได้ ปรับปรุงอีกไม่มากนักจะสะดวกขึ้น อยากจะให้ซ่อมสะพานบนเส้นทางชนบทฝั่งโน้น เพราะชำรุดอยู่ จะได้ไปพัฒนาสร้างอ่างเก็บน้ำ..." อีก 40 วันต่อมา กรมทางหลวง โดยแขวงการทางลำพูน ได้ปรับปรุงทางสายนี้ให้เป็นถนนลูกรังมาตรฐาน และต่อมาได้มีการปรับปรุงเป็น ทางลาดยาง และเรียกทางสายนี้ว่าทางหลวงหมายเลข 1229 ตอนบ้านวาก-บ้านใหม่-บ้านแม่ตะไคร้ ทำให้การสัญจรของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยยิ่งขึ้น ตามพระราชประสงค์ของพระองค์

            เหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขับรถยนต์พระที่นั่งมาพบคณะตรวจราชการของอธิบดีกรมทางหลวงบนยอดเขาโดยบังเอิญใน ครั้งนั้น เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ข้าราชการระดับสูงหลายฝ่าย หลายท่าน เนื่องจากทรงมีกระแสพระราชดำรัสถึงเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้งและทรงชมเชยการ ทำงานอย่างเข้มแข็งจริงจังของนายเฉลียว วัชรพุกก์ อธิบดีกรมทางหลวง อยู่เสมอ ต่อมาได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ให้แก่นายเฉลียว วัชรพุกก์ เมื่อ 5 พฤษภาคม 2521 ซึ่งข้าราชการระดับอธิบดีน้อยท่านนักที่จะมีโอกาสเช่นนี้ นอกจากพระราชดำริในการก่อสร้างทางดังกล่าวข้างต้นแล้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้าง ปรับปรุงทางต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ปีที่ดำเนินการ ชื่อโครงการ

2521 สามแยกดอยอินทนนท์ ที่ กม. 30 อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 
2521 สามแยกทางหลวงหมายเลข 107 ที่ กม. 140 ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 
2521 ทางหลวงหมายเลข 1072 สายลาดยาว-ศาลเจ้าไก่ต่อ-เขาชนกัน-บ้านคลองลาน อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 
2521 ทางหลวงหมายเลข 1109 สายวังเจ้า-โละโดะ จังหวัดนครสวรรค์ 
2521 ทางหลวงหมายเลข 1103 สายอำเภอลี้-อำเภอดอยเต่า-อำเภอฮอด อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ 
2521 สามแยกทุ่งสมอ-เขาค้อ ที่ กม. 5 บ้านก่อไผ่-บ้านเขาโปกหล่น อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 
2521 สายทุ่งข้าวหาง-แม่ลอย (แม่อ่าว-ห้วยไฟ-แม่ลอบ) อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 
2521 สายอำเภอแม่ทา-บ้านใหม่-เขื่อนแม่ทา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน 
2521 ทางหลวงหมายเลข 1143 สายนครไทย อำเภอชาติตระการ บรรจบทางหลวงหมายเลข 1047 อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ 
2521 สายปอน-น้ำเลียง-สบปืน-ห้วยโก๋น อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 
2521 สายอำเภอปัว-ศิลาเพชร-บ้านหลักลาย-บ้านบ่อเกลือใต้-บ้านบ่อเกลือเหนือ บ้านห้วยโก๋น อำเภอปัว อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 
2521 สายห้วยปา-บ้านแคว้ง อำเภอแม่จริม อำเภอเมือง จังหวัดน่าน 
2521 สายแม่จริม-บ้านนาเซีย-บ้านน้ำว้า-บ้านน้ำพาง-บ้านน้ำลาน-บ้านน้ำปูน จังหวัดน่าน 
2521 สายอำเภอแม่แจ่ม-ขุนยวม-ดอนแม่แจ่ม-บ้านแม่นาจร อำเภอแม่จริม จังหวัดเชียงใหม่ 
2521 ทางหลวงหมายเลข 2023 สายอำเภอกุมภวาปี-อำเภอศรีธาตุ-อำเภอท่าคันโท อำเภอกุมภวาปี อำเภอศรีธาตุ จังหวัด อุดรธานี อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ 
2521 ทางหลวงหมายเลข 2023 สายอำเภอวาริชภูมิ-บ้านตาดภูวง-กิ่งอำเภอวังสามหมอ อำเภอกุมภวาปี กิ่งอำเภอวังสามหมอ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี 
2521 สายโรงเรียนวลัย บ้านป่าเต็ง บ้านป่าละอู โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ ห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 
2521 ทางหลวงหมายเลข 4166 สายบ้านทอน บ้านรังมดแดง บรรจบทางหลวงหมายเลข 42 บ้านกอตอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส กิ่งอำเภอไม้แก่น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 
2521 สายบ้านโรงเหล็ก-บ้านห้วยพาน-ปากลง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 
2522 ทางหลวงพัฒนาแบบที่ 1 บ้านสบวิน บ้านห้วยตอง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 
2522 สายตรอน-บ้านแสนชัน อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ 
2522 สายบ้านแสนขัน-บ้านป่าคาย-บ้านน้ำนี้ อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ 
2522 ทางหลวงหมายเลข 2009 สายอำเภอท่าคันโท-บ้านห้วยยาง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ 
2522 สายวัดสารวัลย์-บ้านสูงเนิน-บ้านโพน-บ้านคำมูล อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 
2522 ทางหลวงหมายเลข 2009 สายอำเภอห้วยเม็ก-บ้านคำไฮ อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ 
2522 สายบ้านทุ่งคลอง-บ้านนาไร่เดียว อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 
2522 ทางหลวงหมายเลข 2049 สายสี่แยก อำเภอสมเด็จ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 
2522 สายบ้านหนองหญ้าไซ-ดงบัง จังหวัดกาฬสินธุ์ 
2522 ทางหลวงหมายเลข 3301 สายบ้านหนองพลับ-หนองกระทุ่ม บ้านยางชุม อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 
2522 สายบ้านสาระเห็ด-บ้านยางชุม-บ้านห้วยโสก (แยกจากทางของกรมชลประทาน จากแยกเพชรเกษมเชื่อมเพชรบุรีเข้าบ้านสาระเห็ด) อำเภอ ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
2522 สายปราจีนบุรี-เขาใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดนครราชสีมา 
2522 ทางหลวงหมายเลข 4167 สายบ้านป่าไม้-กิ่งอำเภอไม้แก่น บรรจบทางหลวงหมายเลข 42 (บ้านต้นไทร) อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส กิ่งอำเภอไม้แก่น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 
2522 ทางหลวงหมายเลข 4168 สายแยกทางหลวงหมายเลข 42 บ้านต้นไทร บรรจบทางหลวงหมายเลข 4060 บ้านดา โละดารามัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 
2522 ทางหลวงหมายเลข 4155 สายบ้านทอน อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส 
2522 สามแยกทางหลวงหมายเลข 410 บ้านซากอ-บ้านกาเต๊าะ-นิคมช่วยตนเองพัฒนาภาคใต้ กิ่งอำเภอสุคิริน  อำเภอแว้ง อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา 
2522 สายบ้านห้วยพาน-อ่าวกรุงชิง-เขาหลวง-ตอน 1-2 จังหวัดนครศรีธรรมราช 
2522 สายบ้านท่าพุด-เชาหลวง-พิปูน ตอน 1-2 กิ่งอำเภอพรหมคีรี อำเภอเมือง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช 
2522 ทางหลวงหมายเลข 4055 และ 4155 สายระแงะ-ดุซงยอ-บ้านจะแนะนิคมช่วยตนเองพัฒนาภาคใต้ กิ่งอำเภอสุคิริน อำเภอแว้ง อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส 
2522 ทางหลวงหมายเลข 4115-ดุซงยอ-ลูโบ๊ะ-ลาเซาะ-นิคมพัฒนาภาคใต้นราธิวาส

2523 สายอำเภอแม่พริก-บ้านก้อทุ่ง จังหวัดลำปาง 
2523 ทางหลวงหมายเลข 2093 สายอำเภอศรีธาตุ-กิ่งอำเภอวังสามหมอ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี อำเภอคำม่วง              จังหวัดกาฬสินธุ์ 
2523 ทางพัฒนาแบบที่ 1 บ้านห้วยตอง-บ้านแม่แฮ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 
2523 ทางพัฒนาแบบที่ 1 บ้านดงสามหมื่น-บ้านวัดจันทร์ จังหวัดเชียงใหม่ 
2523 ตอนนิคมพัฒนาภาคใต้-บ้นไอบาโจ-โต๊ะโมะ กิ่งอำเภอสุคิริน อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส แขวงการทางนราธิวาส 2528 เส้นทางบ้านห้วยผา-ห้วยผึ้ง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ด้วยพระราชดำริดังกล่าว วันนี้ พสกนิกรของพระองค์ท่านจึงสามารถเดินทางติดต่อถึงกัน ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยตลอดเส้นทาง


'