กรมทางหลวง
DEPARTMENT OF HIGHWAYS
ระบบทางหลวงที่สะดวกปลอดภัยเชื่อมโยงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง

ลงวันที่ 22/12/2563

นายพลเทพ  เลิศวรวนิช

Mr.PONLATHEP  LERTWORAWANICH 

ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนางานทาง

e-mail : ponla.le@doh.go.th


มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับงานทาง
  • ติดต่อประสานงานกับสถาบันวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุน การปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

  • รับผิดชอบงานสารบรรณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุและสัญญา
  • รวบรวม ติดตามรายงานและให้ ข้อมูลต่าง ๆ
  • ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ฝ่ายเอกสารทางหลวง

  • เป็นแหล่งเก็บรวบรวมและค้นคว้าข้อมูลและผลของการวิจัยต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่แก่บุคลากรภายในกรม หน่วยงานอื่นและผู้สนใจทั่วไปและให้ใช้อ้างอิงโดยจัดทำลักษณะฐานข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศในการสืบค้นเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาและพัฒนาระบบสารสนเทศในการเชื่อมโยงข้อมูลกับแหล่งข้อมูลอื่นเพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการค้นคว้าข้อมูลในงานวิจัย
  • พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมต่อกับระบบ GIS ทำให้ตรวจสอบข้อมูลของถนนสายต่าง ๆ ได้รวดเร็ว

ส่วนวิศวกรรมออกแบบและงานระบบความปลอดภัย

  • ศึกษาวิจัย พัฒนา ตรวจสอบปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนถนนจากสาเหตุทางด้านวิศวกรรมและศึกษาหามาตรการแก้ไข
  • ศึกษาหาวิธีการพัฒนาระบบข้อมูลจราจร ที่เป็นประโยชน์ในเชิงการออกแบบทางและโครงสร้างทาง
  • ศึกษารูปแบบการวิเคราะห์ คาดการณ์ปริมาณการจราจร เพื่อใช้ในการออกแบบทาง
  • ศึกษาถึง Surface Characteristics ของผิวทางที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ และกำหนดวิธีการแก้ไขตามมาตรฐานสากล
  • ศึกษาถึง Traffic Characteristics ที่มีผล ต่อการกำหนดรูปแบบของทางแยกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจราจร
  • ศึกษาเรื่องน้ำหนักบรรทุกของรถบรรทุก ในประเทศ

กลุ่มวัสดุสร้างทางและโครงสร้างถนน

  • ศึกษาวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงคุณภาพวัสดุผิวทาง ให้มีความแข็งแรง ทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
  • ศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพและคุณภาพการนำวัสดุ ที่ใช้แล้วกลับมาใช้งานใหม่ในการก่อสร้างผิวทาง
  • ศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาวัสดุธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเป็นวัสดุผิวทางที่มีคุณภาพ หรือช่วยปรับปรุงคุณภาพของวัสดุ ผิวทาง เช่น ยางพารา
  • ศึกษาวิจัย พัฒนาปรับปรุงวิธีการออกแบบส่วนผสมแอสฟัลต์ คอนกรีตให้มีคุณภาพการใช้งานสูงขึ้น
  • วิจัยเปรียบเทียบผลการนำวัสดุปรับปรุงคุณภาพต่าง ๆ มาใช้เพื่อให้สามารถออกแบบโครงสร้างชั้นทางได้อย่างเหมาะสมกับปริมาณการจราจรและน้ำหนักบรรทุกที่ เพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะเลือกใช้วัสดุปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมในแต่ละท้องที่
  • วิจัยผลกระทบของความเสียหายของถนนที่เกิดจากน้ำหนักบรรทุกที่แตกต่างกัน
  • วิจัยและพัฒนาการออกแบบถนนตามแนวทางวิธีวิเคราะห์ (Analytical Design) ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย
  • วิจัยหาค่า Truck Factor ในทางหลวงสายต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบโครงสร้างถนน

ส่วนบำรุงทาง

  • ศึกษาวิจัยสาเหตุของความเสียหายของผิวจราจร
  • ศึกษาวิจัยการคาดการณ์ความชำรุดเสียหายของทางเชิงวิศวกรรมและสถิติ
  • ศึกษาวิจัยคาดการณ์รอยแตกวิกฤติและความสม่ำเสมอของผิวทางวิกฤติ (Critical Cracking และ Critical Roughness)
  • ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการงานบำรุงทางสำหรับประเทศไทย

ส่วนฐานรากและเทคนิคธรณี

  • วิจัยและพัฒนาการปรับปรุงคุณภาพดินใต้คันทางดินอ่อน ดินที่มีปัญหาต่อเสถียรภาพและการทรุดตัว งานกำแพงกันดินที่ใช้ในการขุดลึก กำแพงกันดินชนิดไดอะแฟรม งานเสาเข็มตอก เสาเข็มเจาะ เสาเข็มพืด งาน Jet Grouting และงานอุโมงค์ใต้ดิน งานวิเคราะห์ปัญหาพิบัติของคันทางทั่วไปเนื่องจากน้ำใต้ดิน
  • ศึกษาและเปรียบเทียบเทคนิคต่าง ๆ ที่มีอยู่ รวมถึงนำเสนอเทคนิควิธีการที่ทันสมัย ประหยัด พร้อมทั้งรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลชั้นดินอ่อนรอบกรุงเทพ และปริมณฑล
  • ศึกษาพฤติกรรมของคันทางที่มีการปรับปรุงคุณภาพ ดินใต้คันทางในระยะยาว
  • งานวิเคราะห์และวิจัยความพิบัติของคันทางเนื่องจากการชะล้างพังทลายและการเคลื่อนตัวของเชิงลาด (Slide and Erosion) ความเสียหายของถนนที่ผ่านภูเขา
  • ศึกษาผลกระทบจากน้ำใต้ดินและผิวดิน วิจัยและพัฒนา เทคนิควิธีต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมกำลังดินโดยวัสดุเสริมแรง การก่อสร้างอุโมงค์ผ่านเขา การใช้หญ้าแฝกในลาดคันทาง การนำวัสดุที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ใหม่ การพัฒนางานตัดลึก ถมสูง การปรับปรุงการวิเคราะห์เสถียรภาพเนื่องจากสภาพทางธรณีวิทยา
  • ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์คุณสมบัติของดิน หิน ในสนามและห้องปฏิบัติการ พัฒนาและปรับปรุงงานออกแบบที่ประสบสภาพธรณีวิทยาที่ยุ่งยากซับซ้อน

ส่วนวางแผนและสิ่งแวดล้อม

  • วิจัยและพัฒนาโครงข่ายถนนที่เหมาะสมสำหรับทางหลวง
  • วิจัยและพัฒนามาตรฐานและข้อกำหนด ทางหลวง
  • ศึกษาวิจัยข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านการจราจรและด้านผู้ใช้ทาง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ การวางแผนและสิ่งแวดล้อม
  • ศึกษาวิจัยพัฒนากระบวนการศึกษาความเหมาะสมของการลงทุนทางหลวงของประเทศ
  • ศึกษารูปแบบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลจากการก่อสร้างถนน
  • ศึกษาวิเคราะห์เชิง B/C Analysis ของถนนที่มีรูปแบบและโครงสร้างต่างกัน

'